วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน


บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน

วันพฤหัสบดี ที่ 27  มิถุนายน 2556 ได้เข้าเรียนวิชาการพัฒนาหลักสูตร เป็นคาบที่ 4 อาจารย์ท่านได้สอน  ดังนี้

หลักสูตรที่ดี

1.สามารถปรับปรุง/ยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับสภาพต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี

2.เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียนการสอนได้บรรลุความมุ่งหมายที่กำหนดไว้

3.ได้รับการจัดทำ/พัฒนาจากคณะบุคคล อย่างมีส่วนร่วม

4.จัดให้ตรงตามความมุ่งหมายของการศึกษาแห่งชาติ

5.มีกิจกรรมกระบวนการ/เนื้อหาสาระบริบูรณ์ เพียงพอที่จะช่วยให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและพัฒนาผู้เรียนได้ทุกๆด้าน

6.บอกแนวทางด้านสื่อการสอน การใช้สื่อ การวัดและประเมินผลไว้อย่างชัดเจน

7.สนองความต้องการและความสนใจ ทั้งของนักเรียนและสังคม

8.ส่งเสริมความเจริญงอกงามในตัวผู้เรียนทุกด้าน

9.ชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

10.จัดทำการข้อมูลพื้นฐานอย่างรอบคอบ

11.ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

12.เนื้อหาสาระและประสบการณ์ต้องสอดคล้องกับสภาพการดำรงชีวิต ของผู้เรียน ประสบการต้องเป็นสิ่งใกล้ตัว และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

13.มีการประเมินผลตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อทราบข้อบกพร่องและสามารถนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น

14.มีแนวทางให้นักเรียนมีแนวทางการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสำคัญอย่างเหมาะสม

จุดมุ่งหมายของหลักสูตร

ประโยชน์ของจุดมุ่งหมาย

·      แนวทางจัดสาระการเรียนรู้

·      แนวทางจัดประสบการณ์การการเรียนรู้

·      ผู้เรียนทราบว่าเขาจะเรียนรู้อะไรบ้าง

·      แนวทางกำหนดวิธีการวัดและประเมินผล

·      แนวทางในการบริหารโรงเรียน

ขอบข่ายของจุดมุ่งหมาย

พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)

จิตพิสัย (Affective Domain)

 จุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่ดี

§  สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษา

§  ตั้งอยู่บนฐานความจริงและนำไปปฏิบัติได้

§  สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติ

§  สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติ

§  สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก

§  ส่งเสริมพัฒนาการเรียนบุคคลและครอบคลุมทุกด้าน

§  ความชัดเจนไม่คลุมเครือและไม่ขัดแย้งในแต่ละข้อ

§  ควรจะยืดหยุ่นได้

ความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร

1.การเปลี่ยนแปลงของสังคม

2.การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ

3.การเมืองและการปกครอง

4.แนวความคิดและการศึกษาค้นคว้าทางด้านจิตวิทยา

5.ความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยี

ซึ่งความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร นี้ อาจารย์ท่านได้ให้ในห้องเรียนนั้นแบ่งกลุ่มๆละเท่าๆกัน จำนวน 5 กลุ่ม ซึ่งได้ให้แต่ละกลุ่มนั้นช่วยกันศึกษา อภิปรายกันภายในกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วให้ตัวแทนในกลุ่มนำเสนอให้เพื่อนต่างกลุ่มได้ทราบเกี่ยวกับกลุ่มของตัวเอง

จากการที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมดในวันนี้ ก็ได้ทราบถึง หลักสูตรที่ดี จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ประโยชน์ของจุดมุ่งหมาย ขอบข่ายของจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่ดี และความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ได้เป็นอย่างดี และอาจารย์ท่านได้สั่งงานให้ทำกันเป็นกลุ่มและนำเสนอในคาบหน้า
 
 
บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน
วันอาทิตย์ ที่ 28 มิถุนายน 2556 ได้ศึกษาจากที่อาจารย์ได้สั่งงานตามกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งดิฉันได้ไปศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งได้เรื่อง ปรัชญาของการศึกษา ดังนี้
ปรัชญาการศึกษา
บทบาทของนักปรัชญาการศึกษา
1. อธิบายถึงสภาพการณ์ของการศึกษาว่าอยู่ในสภาพอย่างไร
2. วิจารณ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของการศึกษาว่า มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงไร
3. เปรียบเทียบแนวความเชื่อของตนกับแนวการจัดการศึกษาว่า แตกต่างกันอย่างไร โดยอาศัยการวิเคราะห์วิจารณ์จากความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
4. เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาการศึกษาให้ดีขึ้น หรือกำหนดแนวปฏิบัติที่เหมาะสมกับการจัดการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาที่สำคัญ
1. ปรัชญาสารนิยม หรือสารัตถนิยม (Essentialism)
2. ปรัชญาสาขาสัจวิทยานิยม หรือสัจนิยมวิทยา หรือนิรันตรนิยม (Perenialism)
3. ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม หรือพิพัฒนนิยม หรือวิวัฒนาการนิยม (Progressivism)
4. ปรัชญาสาขาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
5. ปรัชญาสาขาอัตถิภาวนิยม หรืออัตนิยม หรือสวภาพนิยม (Existentialism)
1.      ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (essentialism)
เน้นเนื้อหาสาระและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมของสังคมที่ได้รับการยอมรับและปฏิบัติกันในสังคมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชนในสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1.1 เพื่อทะนุบำรุง  และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมไปสู่ชนรุ่นหลัง มิให้สูญหาย หรือถูกทำลายไป
1.2  เพื่อให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระอันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม
1.3  เพื่อให้การศึกษาในรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต
1.4 เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน
1.5  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางปัญญา
1.6  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยในตนเอง และรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
2.      ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (perennialism)
จุดมุ่งหมายของปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยมอยู่ที่ การสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง ปลูกฝังความเชื่อและค่านิยมที่ดีแก่ผู้เรียน มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีเหตุผลยิ่งขึ้น รู้จักและเข้าใจตนเอง พร้อมทั้งเห็นว่าตัวเองนั้นมีพลังธรรมชาติอยู่ภายในแล้ว การศึกษาก็คือการส่งเสริมให้พลังธรรมชาตินั้นพัฒนาเต็มที่ พลังธรรมชาติในที่นี้ก็คือ สติปัญญาของมนุษย์ ถ้าสติปัญญาได้รับการขัดเกลาและพัฒนาอย่างดีพอ มนุษย์ก็จะทำอะไรได้อย่างมีเหตุผลเสมอ จุดหมายของการศึกษาของทฤษฎีการศึกษานิรันตรนิยมกล่าวไว้ดังนี้ คือ
2.1  มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักและทำความเข้าใจกับตนเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องเหตุผลและสติปัญญา
2.2  มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาสติปัญญาและเหตุผลในตัวมนุษย์ให้ดีขึ้น สูงขึ้นเพื่อเป็นคนที่สมบูรณ์
3.      ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(progressivism)
แนวคิดหลักการของการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยมนี้ ก็คือการศึกษาจะต้องพัฒนาเด็กทุก ๆ ด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัPพอ ๆ กับเนื้อหา เรื่องของปัจจุบันมีความสำคัญกว่าอดีตหรืออนาคต จุดมุ่งหมายของการศึกษา
การศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนาการนิยมนี้ เกิดขึ้นเพื่อต้านแนวคิดและวิธีการเก่าของการศึกษาที่เน้นแต่เพียงคุณสมบัติด้านใดด้านหนึ่ง เพราะคิดว่าด้านนั้นสำคัญกว่าดังที่สารัตถนิยมเน้นความสามารถทางการจำและเข้าใจ และมองว่าการศึกษาจะต้องให้การศึกษาทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ควบคู่กันไป ความสนใจ ความถนัด และลักษณะพิเศษของผู้เรียนควรได้รับความสนใจและได้รับการส่งเสริมให้มากที่สุดส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในและนอกห้องเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและสังคม เพื่อผู้เรียนจะได้ปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหาได้
4.      ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(reconsteuctionism)
ปรัชญาการศึกษาในแนวนี้เห็นว่า ปัจจุบัน(รวมทั้งอนาคต) สังคมมีปัญหามากทั้งในด้านของเศรษฐกิจ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก สังคมจึงต้องการการแก้ปัญหาและหาทางที่จะสร้างค่านิยมและแบบแผนของสังคมขึ้นใหม่ การที่จะแก้ปัญหาและสร้างค่านิยมขึ้นใหม่นี้ การศึกษาจะต้องมีบทบาทอย่างสำคัญซึ่งความเชื่อและหลักการสำคัญของทฤษฎีการศึกษาปฏิรูปนิยมในด้านจุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาในแนวทางนี้คือการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อปรับปรุง พัฒนาและสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีและเหมาะสมกว่าขึ้นมาให้ได้ ดังจะกล่าวเป็นรายละเอียดได้คือ
4.1  การศึกษาจะต้องช่วยแก้ปัญหาของสังคมที่เป็นอยู่
4.2  การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสังคมโดยตรง
4.3  การศึกษาจะต้องมุ่งสร้างระเบียบใหม่ของสังคมจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่
4.4  ระเบียบใหม่ที่สร้างขึ้นรวมทั้งวิธีสร้างต้องอยู่บนพื้นฐานของประชาธิไตย
4.5  การศึกษาจะต้องให้เด็กเห็นความสำคัญของสังคมคู่ไปกับตนเอง
5.      ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism)
เชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพในทางที่จะเป็นตัวของตัวเองตลอดเวลา  นักปรัชญากลุ่มนี้สนใจเกี่ยวกับโลกแห่งการดำรงชีวิตอยู่ได้(A World of Existing) เชื่อว่า คนคือความไม่แน่นอน ไม่มีแก่นสาร ความจริงหรือความรู้ควรจะเป็นเรื่องที่ช่วยให้ตนเองดำรงชีวิตอยู่ได้ จริยศาสตร์ควรจะเป็นเรื่องของเสรีภาพและความสมัครใจสุนทรียศาสตร์ควรจะเป็นเรื่องของการปฏิวัติหรือหนีสังคม และไม่จำเป็นต้องตรงกับความพอใจของประชาชนส่วนใหญ่ กลุ่มนี้เชื่อว่ามนุษย์มีความเป็นอิสระ มีเสรีภาพในการเลือก ในการกระทำ มนุษย์ตัดสินใจด้วยตนเอง เลือกด้วยตนเอง และรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองลัทธินี้มีความสัมพันธ์กับปรัชญาด้านต่าง ๆ คือ
เชื่อว่า ความจริงคือการดำรงอยู่ของชีวิต ไม่เห็นด้วยกับความสมบูรณ์แท้จริงที่สุดของการให้เหตุผลหรือตรรกวิทยาบริสุทธิ์ ลัทธินี้เน้นถึงชีวิตและประสบการณ์ของเอกัตบุคคล เชื่อว่ามนุษย์จะดีก็อยู่ที่การเลือกที่จะทำตนให้เป็นเช่นนั้น นักปรัชญาในกลุ่มนี้บางคนก็เชื่อว่าไม่มีพระเจ้า แต่บางคนเชื่อว่า มีพระเจ้าเป็นผู้ช่วยมนุษย์ให้มีศีลธรรมจรรยาดี
เชื่อว่าความจริงคือ ความรู้จะช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ และถือว่าความรู้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแก่แต่ละบุคคล ความรู้ไม่ใช่ผลบั้นปลายอันต้องประสงค์ และก็ไม่ใช่มรรคอันจำจะต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวไปเผชิญกับชีวิตจริง หากความรู้เป็นมรรควิธีจะให้แต่ละคนเจริญเติบโต และเลือกทำในสิ่งที่ตนประสงค์ยิ่งขึ้นทุกที
6.      ปรัชญาการศึกษาพุทธปรัชญา (Buddhism) เป็นปรัชญาที่เชื่อว่า การศึกษาคือการพัฒนาบุคคลให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตลอดจนรู้จักแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากการที่ดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา  ซึ่งมีทั้งหมด 6 ปรัชญา  คือ  ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (essentialism)  ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (perennialism)  ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(progressivism)  ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(reconsteuctionism)  ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism)ปรัชญาการศึกษาพุทธปรัชญา (Buddhism)  ซึ่งทำให้ดิฉันได้รู้เกี่ยวกับปรัชญาต่างๆมากขึ้น
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development)
หลักสูตร หมายถึง  แนวการจัดประสบการณ์ และ/หรือ เอกสาร ที่มีการจัดทำเป็นแผนการจัดสภาพการเรียนรู้หรือโครงการจัดการศึกษา โดยมีการกำหนดวิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ตาม จุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายตามที่หลักสูตรกำหนดไว้
การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตร การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของบุคคล และสภาพสังคม
การพัฒนาหลักสูตร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาถึงข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ เพื่อให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นมานั้น สมบูรณ์ สามารถสนองความต้องการของบุคคล และสังคม พื้นฐานด้านต่างๆ ที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องนำมาพิจารณานั้นมีหลายประการ ซึ่งมีนักการศึกษาได้ให้ความคิดเห็นว่าพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรด้านต่างๆ ที่ควรนำมาพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตร มี 5 ด้าน ดังนี้
การวางแผน หรือการร่างหลักสูตร (curriculum planning)
หมายถึง การร่างแผนงานการจัดทำหลักสูตร โดยกำหนดเป้าหมายว่าหลักสูตรที่จะจัดทำนั้นทำเพื่อใครจะพัฒนาบุคคลไปในทิศทางใดใช้ระยะเวลาการดำเนินการเท่าใดมกระบวนการพัฒนาบุคคลเหล่านั้นอย่างไร เป็นการรวมกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรเท่านั้น ไม่รวมถึงการผลิต เอกสารสำหรับผู้เรียน
การสร้างหลักสูตร (curriculum construction)
หมายถึง การจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยที่ยังไม่เคยมีหลักสูตรนั้นมาก่อน หรือไม่เคยมีหลักสูตรเดิมเป็นรากฐานมาก่อน และต้องดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการและเป็นขั้นตอน
การปรับปรุงหลักสูตร (curriculum improvement)
หมายถึง การดำเนินงานจัดทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการเหมือนกับการพัฒนาหลักสูตร แต่จะแตกต่างกันตรงที่การปรับปรุงหลักสูตร จะมุ่งไปที่เป้าหมายของหลักสูตรมากกว่ากระบวนการ
การจัดทำหลักสูตร (Curriculum revision)
เป็นการทำให้หลักสูตรดีขึ้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบหลักสูตร แต่ก็ไม่ได้ทำให้โครงสร้างของหลักสูตรที่มีอยู่เดิมเปลี่ยนแปลง
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น