วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน


 
บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน
การประเมินหลักสูตร
 
                  การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการในการวัดและเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์พิจารณาตัดสินคุณค่าของหลักสูตรว่า หลักสูตรนั้นๆ มีประสิทธิภาพแค่ไหน เมื่อนำไปใช้แล้ว บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดหรือไม่เพียงใด มีอะไรต้องแก้ไข  เพื่อนำผลมาใช้ในการตัดสินใจหาทางเลือกที่ดีกว่า
 
                  จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร       (สุนีย์  ภู่พันธ์ . 2546. หน้า 250-251) 
 
                  1. เพื่อหาคุณค่าของหลักสูตรนั้น โดยดูว่า หลักสูตรที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถสนองวัตถุประสงค์ ที่หลักสูตรนั้นต้องการหรือไม่  สนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมอย่างไร
 
                  2. เพื่ออธิบายและพิจารณาว่าลักษณะของส่วนประกอบต่างๆ ของหลักสูตรในแง่ต่างๆ   เช่น  หลักการ  จุดมุ่งหมาย  เนื้อหาสาระ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการวัดผลว่าสอดคล้องต้องกันหรือไม่ หรือสนองความต้องการหรือไม่
 
                  3. เพื่อตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้  มีข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง  การประเมินผลในลักษณะนี้ มักจะดำเนินไปในช่วงที่ขณะใช้หลักสูตร
 
                  4. เพื่อตัดสินว่า การบริหารงานด้านวิชาการและบริหารงานด้านหลักสูตร เป็นไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพื่อหาทางแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ
 
                  5. เพื่อติดตามผลผลิตจากหลักสูตร คือผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังจากการผ่านกระบวนการทางการศึกษามาแล้วตามหลักสูตรว่าเป็นไปตามความมุ่งหวังหรือไม่
 
                  6. เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ ในหลักสูตร
 
                  7. เพื่อช่วยในการตัดสินว่าควรใช้หลักสูตรต่อไปหรือควรปรับปรุงพัฒนาหรือเพื่อยกเลิกการใช้หลักสูตรนั้นหมด การประเมินผลในลักษณะนี้ จะดำเนินการหลังจากที่ใช้หลักสูตรไปแล้วระยะหนึ่ง แล้วจึงประเมินเพื่อสรุปผลตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่ดี บรรลุตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้มากน้อยเพียงใด  สนองความต้องการของสังคมเพียงใด เหมาะสมกับการนำไปใช้ต่อไปหรือไม่
 
 
 
                  ประโยชน์ของการประเมินหลักสูตร
 
                  การประเมินผลหลักสูตร เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เราทราบถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร  การประเมินผลมีประโยชน์ในการจัดการศึกษา การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรต้องอาศัยผลจากการประเมินผลเป็นสำคัญ ประโยชน์ของการประเมินผลหลักสูตรมีดังนี้
 
                  1. ทำให้ทราบว่าหลักสูตรที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นนั้น มีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงให้ถูกจุด ส่งผลให้หลักสูตรมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
 
                  2. สร้างความน่าเชื่อถือ  ความมั่นใจ  และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดในหมู่ประชาชน
 
                  3. ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ  ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุน ช่วยเหลือหรือบริการทางใดบ้าง
 
                  4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา
 
                  5. ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การเรียน
 
การสอนนักเรียนได้ผลดี ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและทางบ้าน
 
                  6. ให้ผู้ปกครองทราบความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขร่วมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับทางโรงเรียน
 
                  7. ช่วยให้การประเมินผลเป็นระบบระเบียบ  เพราะมีเครื่องมือและหลักเกณฑ์ทำให้เป็นเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
 
                  8. ช่วยชี้ให้เห็นคุณค่าของหลักสูตร
 
                  9. ช่วยให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้ ข้อมูลของการประเมินผลหลักสูตร ทำให้ทราบเป้าหมายแนวทางและขอบเขตในการดำเนินการศึกษาของโรงเรียน
 
 
 
                  ขั้นตอนการประเมินหลักสูตร
 
                  สุนีย์  ภู่พันธ์.  (2546)  ได้สรุปขั้นตอนการประเมินหลักสูตรไว้ ดังนี้
 
                  1. ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการประเมิน  การกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการในการดำเนินการประเมินหลักสูตร ผู้ประเมินต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไรในส่วนใด ด้วยวัตถุประสงค์อย่างไร  เช่น ต้องการประเมินเอกสารหลักสูตรเพื่อดูว่าเอกสารหลักสูตรถูกต้อง สมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน   หรือจะประเมินการนำหลักสูตรไปใช้ในเรื่องอะไร แค่ไหน  การกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินที่ชัดเจนทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการ เครื่องมือ และขั้นตอนในการประเมินได้อย่างถูกต้องและทำให้การประเมินหลักสูตรดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลถูกต้องเป็นที่เชื่อถือได้
 
                  2. ขั้นกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะใช้ในการประเมินผล เกณฑ์การประเมินจะเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพในส่วนของหลักสูตรที่ถูกประเมิน
 
                  3. ขั้นการสร้างเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะมีผลทำให้การประเมินนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน เครื่องมือที่ใช้มีหลายอย่างซึ่งผู้ประเมินจะต้องเลือกใช้และสร้างอย่างมีคุณภาพ เชื่อถือได้และมีความเที่ยงตรงสูง
 
                  4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล ในขั้นนี้ผู้ประเมินต้องเก็บรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตและระยะเวลาที่กำหนดไว้
 
                  5. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล  ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะต้องกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูล พิจารณาเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม แล้วจึงวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
 
                  6. ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการประเมิน
            7. ขั้นนำผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตร
บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน
วันพฤหัสบดี ที่ 5 กันยายน 2556 อาจารย์วัยวุฒ อินทรวงศ์ ได้เข้าสอนในคาบเรียนในวิชา การพัฒนาหลักสูตร โดยอาจารย์ให้ศึกษาถึงองค์ประกอบของการประเมินดังนี้
องค์ประกอบของการประเมิน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต
  • องค์ประกอบด้านปัจจัย
1.            องค์ประกอบด้านผู้เรียน
2.            องค์ประกอบด้านครู
3.            องค์ประกอบด้านผู้ปริหารในการเรียน
4.            องค์ประกอบด้านปัจจัยสนับสนุน
  • องค์ประกอบด้านกระบวนการ
1.            องค์ประกอบด้านการบริการ
2.            องค์ประกอบด้านครู
3.            องค์ประกอบด้านนักเรียน
4.            องค์ประกอบด้านปัจจัยสนับสนุน
  • องค์ประกอบด้านผลผลิต
จากการที่อาจารย์วัยวุฒ  อินทรวงศ์ทำให้เรารู้ถึงองค์ประกอบในด้านต่างๆทั้งด้านปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต
บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน
Out class: 30 สิงหาคม 2556
การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning : SDL)
ความหมายการเรียนรู้ด้วยตนเองนักการศึกษาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนี้
สมคิด อิสระวัฒน์ (2538 : 4) ให้ความหมายการเรียนรู้ด้วยตนเองว่าเป็นการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มด้วยตนเอง โดยอาศัย
ความช่ วยเหลือหรือไม่ ก็ได้ ผู้เรียนวิเคราะห์ความต้องการที่ จะเรียนรู้ของตน กำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ แยกแยะ เจาะจง แหล่งข้อมูลในการเรียนรู้ คัดเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมและประเมินผลการเรียนรู้นั้น ๆ

ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ (2541 : 4) กล่าวว่า การเรียนรู้ด้วยตนเองคือ กระบวนการเรียนรู้ที่ ผู้เรียนจะด้วยความช่ วยเหลือสนับสนุนจาก
ภายนอกตัวผู้เรียนหรือไม่ก็ตาม ริเริ่มการเรียนรู้เลือกเป้าหมาย แสวงหา แหล่งทรัพยากรของการเรียนรู้ เลือกวิธีการเรียนรู้ จนถึงการประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง

โนลส์ (Knowles, 1975 : 18) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ด้วยตนเอง สรุปได้ว่า การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นกระบวนการที่ผู้เรียน
คิดริเริ่ มการเรียนเอง โดยวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ของตนกำหนดเป้าหมาย และสื่อการเรียน ติดต่อกับบุคคลอื่น หาแหล่งความรู้เลือกใช้ยุทธวิธีการเรียนรู้เสริมแผนการเรียนรู้ และประเมินผลการเรียนของตน ซึ่งอาจจะได้รับหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นก็ตาม

สเคเจอร์ (Skager, 1977 : 133) ให้ความหมาย การเรียนรู้ด้วยตนเอง ว่าเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ส่วนบุคคล ผู้เรียนมีเป้าหมายใน
การพัฒนาทักษะ ความสามารถในการวางแผน การบริหารการจัดการและการประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเอง และในฐานะที่ เป็นสมาชิกของกลุ่มการเรียนที่ร่วมมือกัน
กริฟฟิน (Griffin, 1983 : 153) กล่าวว่า การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เฉพาะของบุคคล โดยมีเป้าหมายที่จะ
พัฒนาการเรียนรู้ความสามารถในการวางแผน การปฏิบัติตามแผน และการประเมินผลการเรียนรู้ของตน

บรู๊คฟิลด์ (Brookfield, 1984 : 61) สรุปการเรียนรู้ด้วยตนเอง ว่า เป็นการแสวงหาความรู้โดยผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเป้าหมายการเรียนที่
ชัดเจน ควบคุมกิจกรรมการเรียนของตนในด้านเนื้อหาและวิธีการเรียนซึ่งอาจขอความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น การกำหนด และใช้หนังสือประกอบการเรียนหรือบทความต่างๆ จากบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเลือกวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง

สรุปการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ความต้องการ และความถนัด มีเป้าหมาย รู้จักแสวงหาแหล่ งทรัพยากรของการเรียนรู้ เลือกวิธีการเรียนรู้จนถึงการประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง โดยจะดำเนินการด้วยตนเองหรือร่วมมือช่วยเหลือกับผู้อื่นหรือไม่ก็ได้
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นคุณลักษณะที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาในปัจจุบันที่
จะต้องมีส่งเสริมให้บุคคลมีคุณลักษณะของการชี้นำตนเองในการเรียนรู้เพื่อให้บุคคลมีประสบการณ์และมีศักยภาพในการแสวงหา ความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาตลอดชีวิตต่อไป
รูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2545 : 50-51) ได้เสนอหลักการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนี้คือ
1. ศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เนื่ องจากผู้เรียนแต่ ละคนมีความแตกต่ างกันทั้งในด้านความสามารถในการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้
เจตคติ ฯลฯ ดังนั้น การจัดการเรียนรู้จึงต้องคำนึงถึงความแตกต่ างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความสามารถในการเรียนรู้ และ
วิธีการเรียนรู้ โดยจัดการเรียนรู้ เนื้อหาและสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้รายบุคคลรวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำเอาประสบการณ์ของตนมาใช้ในการเรียนรู้ด้วย
2. จัดให้ผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบในการเรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง ดังนั้น การ
จัดการเรียนรู้จึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทตั้งแต่ การวางแผนกำหนดเป้าหมายการเรียนที่สอดคล้องกับความต้องการของตน หรือกลุ่มการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียน การเลือกใช้วิธีการเรียนรู้การใช้แหล่งข้อมูลตลอดจนถึงการประเมินผลการเรียนของตน
3. พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เรียนจะต้อง
ได้รับการฝึกให้มีทักษะและยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การบันทึกข้อความ การจัดประเภทหมวดหมู่ การสังเกตการแสวงหาและใช้แหล่งความรู้ เทคโนโลยีและสื่อที่สนับสนุนการเรียนรวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการตัดสินใจ แก้ปัญหากำหนดแนวทางการเรียนรู้และเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง
4. พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น การเรียนรู้ด้วยตนเอง
ไม่ ได้หมายความว่ าผู้เรียนต้องเรียนคนเดียว โดยไม่ มีชั้นเรียนหรือเพื่อนเรียน ยกเว้นการเรียนแบบรายบุคคล โดยทั่วไปแล้ว ในการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้เรียนจะได้ทำงานร่ วมกับเพื่ อน กับครูและบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องดังนั้นจึงต้องพัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นให้กับผู้เรียน
เพื่ อให้รู้จักการทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะอย่ างยิ่ งการทำกิจกรรมกลุ่ มร่วมกับเพื่อนที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะเจตคติที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในกระบวนการเรียนรู้
5. พัฒนาทักษะการประเมินตนเอง และการร่วมมือกันประเมินในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประเมินการ
เรียนรู้ ดังนั้น จึงต้องพัฒนาทักษะการประเมินให้แก่ผู้เรียน และสร้างผู้เรียนว่ า การประเมินตนเองเป็นส่ วนหนึ่ งของระบบ
ประเมินผล รวมทั้งยอมรับผลการประเมินจากผู้อื่นด้วย นอกจากนี้ต้องจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การประเมินผลหลาย ๆ รูปแบบ
6. จัดปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญอย่ างหนึ่ งในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น
บริเวณในโรงเรียนจึงต้องจัดให้เป็นแหล่งความรู้ที่นักเรียนจะค้นคว้าด้วยตนเองได้เช่น ศูนย์วิทยาการ บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน ฯลฯ รวมทั้งบุคลากร เช่น ครูประจำศูนย์วิทยบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกและแนะนำเมื่อผู้เรียนต้องการ
ดังนั้น หลักการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้จัดกิจกรรมต้องศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดให้ผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบ
ในการเรียน พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น พัฒนาทักษะการประเมินตนเอง และการร่วมมือกันประเมินและจัดปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน
สรุป
แนวคิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมีแนวโน้มที่จะเป็นแนวคิดที่สำคัญของวงการการศึกษาผู้ใหญ่ ในอนาคต นอกจากนั้นคาดว่าจะเป็นแนวคิด
ที่มีพลังขับเคลื่อนให้วงการการศึกษาผู้ใหญ่ก้าวหน้าอย่างมาก อย่างไรก็ดียังควรคำนึงถึงการชี้นำตนเองในการเรียนรู้ หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง จะเน้นถึงความรับผิดชอบของบุคคลและเชื่อในศักยภาพที่ ไม่สิ้นสุดของมนุษย์ (never–ending potential of human) ในการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ประสบผลสำเร็จผู้อำนวยความสะดวกต้องมีบทบาทในการร่วมปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิด เป็นแหล่งความรู้ตามที่ผู้เรียนต้องการ มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้เรียน มีส่วนร่วมในการถ่ายโอนบทบาทการเรียนการสอนและ
สนับสนุนให้ผู้เรียนคิดอย่างแตกฉาน (critical thinking)
บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน
วันที่ 29 สิงหาคม 2556 ็นแบบรูปเอาจารย์วัยวุฒ   อินทรวงศ์ อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานในในคาบนี้เป็นแบบรูปเล่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มได้จัดทำหลักสูตรกันนอกห้องเรียน
บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน
Out class: 23 สิงหาคม 2556
 

บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน 22/08/56


บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน
In class:22 สิงหาคม 2556

ในวันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2556 อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ ได้เข้าสอนในวิชาพัฒนาหลักสูตร อาจารย์ได้ให้พวกเราสอบกลางภาคกัน โดยให้ข้อสอบมา 2 ข้อ ใช้เวลาในการสอบในคาบเรียนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง

แบบบันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน 16/08/56

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน
out class:16 สิงหาคม 2556
ดิฉันได้ศึกษาการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง วิธีการเขียนหลักสูตร โดยการทำดังนี้

1.            ชื่อเรื่อง

2.            ความสำคัญ

3.            จุดมุ่งหมาย

4.            วัตถุประสงค์

5.            เนื้อหาของหลักสูตร

6.            เวลาเรียน

7.            สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้

8.            กิจกรรมการเรียนรู้

9.            ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

10.    โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร

จากการที่ไดมีการศึกษาการเขียนหลักสูตร เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการทำหลักสูตรของตนเอง ว่าสมควรหรือไม่สมควรในการจัดทำหลักสูตร การกำจัดขยะมูลฝอย

แบบบันทึกการเข้าฟังบรรยาย วันที่ 15 สิงหาคม 2556


Learning Log

แบบบันทึกการเข้าฟังบรรยาย วันที่ 15 สิงหาคม 2556 ณ ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับ การจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย นายบุญเรือง วุฒิพงศ์ รองผู้อำนวยการ สพป.นศ.3 ซึ่งในการเข้าฟังบรรยายในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้เกี่ยวกับ ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 และการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และยุคประชาคมอาเซียน ซึ่งข้าพเจ้าสรุปออกมาได้ดังนี้

การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาในระดับก่อนอุดมศึกษา ตามมาตรา49 กล่าวไว้ว่า”บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการได้รับการศึกษา ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” มาตรา80(3) “พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกรูปแบบจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้า” 

ความหมายและคำนิยามแห่งการศึกษาที่ควรรู้

การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสาน วัฒนธรรมฯ

การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

สถานศึกษา หมายถึง สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน  มหาวิทยาลัย ที่มีอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา

การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษาหรือหน่วยงานต้นสังกัด

การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก (สม..)

ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษา

ครู หมายถึง บุคลากรวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

คณาจารย์ หมายถึง บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอน และการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาของรัฐและเอกชน

หลักการศึกษาตาม พ...การศึกษาแห่งชาติ

1.เป็นการศึกษาตลอดชีวิต สำหรับประชาชน

2.ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

3.การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ระบบการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ

1.การศึกษาในระบบ

2.การศึกษานอกระบบ

3.การศึกษาตามอัธยาศัย

แนวการจัดการศึกษา

1.ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.เน้นความสำคัญ ทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการ ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ

3.ส่งเสริมและจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ

4.ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน

5.ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การแบ่งระดับ/ประเภทการศึกษาขั้นพื้นฐาน

            1.การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา

            2.การศึกษาระดับประถมศึกษา

3.การศึกษาระดับมัธยมศึกษา

            3.1 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

            3.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

โครงสร้างการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.กระทรวงศึกษาธิการ (รมต./รมช.)

2.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เลขาธิการ สพฐ.)

3.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.เขตพื้นที่ฯ)

4.สถานศึกษา (ผอ.สถานศึกษา)

บทบาทหน้าที่ของบุคลากรและหน่วยงานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

      โครงสร้างบุคลากรที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี, รมต./รมช., ปลัดกระทรวง, เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา, ผอ.สถานศึกษา และครูและบุคลากร

องค์คณะท่ามีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ไม่เกิน 27 คน) มีหน้าที่ กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีหน้าที่บริหารงานบุคคล กำหนดหลักสูตร วิธีการสอบ

3.คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (15 คน) มีหน้าที่วิเคราะห์การจัดตั้งโรงเรียน ยุบโรงเรียน

4.คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.... 10 คน)

มีหน้าที่สอบคัดเลือกครู สอบบรรจุครู

5.คณะกรรมการการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (ก.... 9 คน) มีหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การวัดการประเมินผลรายปี

6.คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (9/15 คน)

การศึกษาภาคบังคับ

ความหมาย : การศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เด็ก : เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 จนถึงอายุย่างเข้าปีที่ 16

ผู้ปกครอง : บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งใช้อำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือผู้ที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรืออยู่รับใช้การงาน

หน่วยงาน/องค์การที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ รัฐบาล, เอกชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, บุคคล/ครอบครัว, องค์กรเอชน, องค์กรชุมชน, องค์รวิชาชีพ, สถาบันศาสนา, สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นๆ

การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และยุคประชาคมอาเซียน

วิสัยทัศน์ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”

จุดเน้น สู่การพัฒนาผู้เรียน คือ คุณภาพในตัวผู้เรียนที่มีความครอบคลุมในด้านความสามารถและทักษะ ตลอดจนคุณลักกษณะที่ช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีคุณภาพ

กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

1.พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่

2.พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่

3.พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่

4.พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่

เป้าหมายในการปฏิรูปการศึกษา

เป้าหมายที่ 1 คนไทยในการศึกษาไทยมีคุณภาพ และได้มาตรฐานระดับสากล

เป้าหมายที่ 2 คนไทยใฝ่รู้ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่านและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายที่ 3 คนไทยใฝ่ดี มีคุณธรรมพื้นฐาน มีจิตสำนึกและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสาธารณะ

เป้าหมายที่ 4 คนไทยคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น

จุดร่วมของอาเซียนในการยกระดับคุณภาพการศึกษา

1.การมุ่งสู่สังคมฐานความรู้

2.ยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ระดับสากล

3.การตอบสนองต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น

4.ใช้การศึกษาเป็นแนวทางยกระดับศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

5.การศึกษาเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์อย่างรอบด้าน

06:18


บันทึกการเรียนรู้ 1/8/56


 

บันทึกการเรียนรู้

 

In Class : 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

 

            ในคาบเรียนของวันนี้อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ ได้อธิบายเกี่ยวกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  ๒๕๕๑โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

วิสัยทัศน์

 

            หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

 

หลักการ

 

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ  ดังนี้

 

          1.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

 

          2.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ

 

           3.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น

 

           4.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด           การเรียนรู้

 

           5.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

 

           6.เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 

 

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

 

                        สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

 

1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

 

2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

 

3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ              ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

 

4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน

 

การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

 

5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม

 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

 

1.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์

 

2.  ซื่อสัตย์สุจริต

 

3.  มีวินัย

 

4. ใฝ่เรียนรู้

 

5. อยู่อย่างพอเพียง

 

6.  มุ่งมั่นในการทำงาน

 

7.  รักความเป็นไทย

 

8.  มีจิตสาธารณะ



วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556


บันทึการเรียนรู้ในห้องเรียน 25/07/56


 

บันทึกการเรียนรู้ในชั้นเรียน

                   วันที่   25 กรกฎาคม พ.. 2556   ในคาบเรียนของวันนี้อาจารย์ได้ดูความคืบหน้าในการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการทำพัฒนาหลักสูตรของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม  และได้ถามถึงเนื้อหาที่เราได้ไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของสมรรถนะของผู้เรียน และพัฒนาการหลักสูตรของการศึกษาไทย ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานของการเรียนรู้วิชาพัฒนาหลักสูตร และจะทำให้เราได้รู้ว่ารูปแบบการวางแผนเพื่อการทำงานในการว่างแผนทำการพัฒนาหลักสูตร    นอกจากนี้อาจารย์ได้มีการตรวจงานที่สั่งให้แต่ละกลุ่มไปลงพื้นที่หมู่บ้านหรือชุมชนที่เราสนใจเพื่อทำการพัฒนาหลักสูตรที่หมู่บ้านนั้นมีปัญหา และเราได้ไปลงพื้นที่จริงที่แต่ละกลุ่มได้ลงไปสำรวจโดยแยกเป็นด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองการปกครอง และด้านวัฒนธรรมประเพณี ของเรื่องที่เรารับผิดชอบ  มีข้อผิดพลาดอย่างไร อาจารย์จึงได้แนะแนวทางการแก้ไขให้ถูกต้องและมีการดำเนินการต่อไป